“ใจที่เร่าร้อนเป็นไฟ เท้าต้องก้าวเดินไป" (เทียบ ลก 24:13-35) ....สารวันแพร่ธรรม ปี 2023....

ขั้นตอนการอบรมเด็กให้มีหัวใจธรรมทูตวันยุวธรรมทูตสากล 2011
ขั้นตอนการอบรมเด็กให้มีหัวใจธรรมทูต
            การอบรมเป็นการปลูกฝังคุณลักษณะประการหนึ่งประการใดให้แก่เด็กๆของเรา สำหรับความจำเป็นเร่งด่วนของพระศาสนจักรในประเทศไทยของเราในขณะนี้นั้นก็คือการสร้างจิตตารมณ์หรือจิตวิญญาณแห่งการเป็นผู้แพร่ธรรมให้แก่คริสตชนชาวไทยทุกคน ซึ่งจะต้องกระทำในทุกระดับ แต่ที่สำคัญเราจะต้องเริ่มกันตั้งแต่เด็กๆ ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะถึงขั้นตอนการฝึกอบรมที่บรรดาผู้รับผิดชอบสามารถนำไปสร้างแผนการฝึกอบรมในรายละเอียดต่อไปได้


          1. ปลุกจิตสำนึก (Awareness building) : เป็นขั้นแรกในการฝึกอบรม เราต้องให้เด็กๆเกิดความรู้สึกหรือสำนึกถึงเด็กๆที่มีความยากลำบากมากกว่าตัวของพวกเขา และปลุกเร้าให้พวกเขาเห็นว่าความทุกข์ของเพื่อนก็คือความทุกข์ของพวกเขา เด็กที่มีความขัดสนทางทางร่างกายและเป็นต้นความขัดสนทางด้านจิตวิญญาณที่ยังไม่มีโอกาสได้รู้จักพระเจ้า

          2. ให้ความรู้ (Knowledge) : เราต้องให้เด็กๆของเราได้รับข้อมูลหรือความรู้ที่ถูกต้อง ทั้งเรื่องคำสอนของศาสนา ความเป็นไปของสังคม และเศรษฐกิจ ให้พวกเขาได้รับรู้ถึงความต้องการของเด็กๆอื่นๆในโลก เป็นความรู้ที่ไม่ใช่แบบลอยๆแต่ต้องให้เป็นตัวเลข แผนภูมิ หรือภาพที่เป็นรูปธรรม

          3. ให้การฝึกอบรม (Education) : เราต้องช่วยต่อยอดจากความรู้เชิงเหตุผลไปสู่การอุทิศตน ให้ความรู้ที่ได้รับผ่านจากสมองไปสู่หัวใจ และความรู้สึกนี้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ให้เกิดการอุทิศตน เพื่อการภาวนา เพื่อแสดงกิจเมตตา บริจาคสิ่งของ ให้เวลาสำหรับงานส่วนรวม จนสามารถมอบชีวิตเพื่อพระเจ้าในงานแพร่ธรรมได้

          4. สร้างความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน (Solidarity) : เราต้องสร้างความเป็นพี่เป็นน้องระหว่างกันและกัน ต้องเสริมสร้างความรักต่อกันและกัน ทั้งนี้มิใช่เพราะเป็นเรื่องทางสังคมเท่านั้น แต่เพราะเราต่างได้รับศีลล้างบาปให้เข้ามาเป็นกายเดียวใจเดียวกับพระเยซูเจ้าและเพื่อนพี่น้อง

          5. ส่งเสริมให้มีจิตตารมณ์กลุ่ม (Community spirit) : งานธรรมทูตเป็นงานของพระศาสนจักร ไม่ใช่งานส่วนตัวของใครคนใดคนหนึ่ง เราจึงต้องรับผิดชอบร่วมกัน สอนให้รู้จักทำงานเป็นทีมหรือหมู่คณะ

          6. สอนให้มีคิดเป็นสากล (Universality) : งานธรรมทูตเป็นงานที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้พระศาสนจักรได้กระทำจนสุดปลายแผ่นดินโลก จึงไม่ใช่งานของคนใด วัดใด สังฆมณฑลใด ประเทศใด..แต่เป็นของทุกคนและเพื่อทุกคน เราต้องอบรมเด็กๆของเราให้คิดให้กว้างไกลไปจากสถานที่ของตนเอง สอนให้คิดถึงวัดอื่น โรงเรียนอื่น สังฆมณฑล ประเทศอื่น ทวีปอื่น ให้ได้รับรู้และออกไปสู่สากล เช่น นักบุญเทเรซาที่สวดภาวนาเพื่อโลกแม้ว่าตนเองจะอยู่ในอารามเล็กๆเท่านั้น

          7. สอนเด็กๆให้เอาชนะการเห็นแก่ตัว (Overcoming selfishness) : เด็กๆโดยทั่วไปมักจะเอาแต่ใจตนเองเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นเราต้องวางแผนที่เป็นรูปธรรมที่จะสอนเขาให้ออกจากตนเองและคิดถึงผู้อื่นมากขึ้น การทำกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรักฉันพี่น้องหรือความเป็นหนึ่งเดียวกันจะทำลายวงจรอุบาทว์แห่งความเห็นแก่ตัว วัยของเด็กๆเหมาะกับการเป็นธรรมทูตที่เดียว เช่น ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่สิ้นสุดตามประสาเด็กๆ จุดนี้เราต้องนำเสนอเรื่องราวต่างๆของพระศาสนจักรที่ทำงานอยู่ทั่วโลก นำเสนอชีวิตของบรรดา  มิชชันนารี่ ฯลฯ เด็กๆสนใจปัญหาต่างรอบๆตัวของเขา เราควรจะนำเสนอปัญหาของสังคมเพื่อให้พวกเขาช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆนั้นให้ถูกต้องตามหลักธรรมคำสอน เด็กๆกำลังแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง เราต้องนำเสนอทางเลือกต่างๆให้พวกเขาได้พิจารณาหาความถนัดของเขาเองให้พบ เราควรนำตัวอย่างบุคคลสำคัญมาให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อเป็นแบบอย่างในชีวิตให้พวกเขา เป็นต้นชีวิตของบรรดามิชชันนารีที่ทุ่มเทชีวิตเพื่อพระเจ้า สอนพวกเขาให้เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ

         8. การมอบหมายงานให้รับผิดชอบ (Entrusting a role) : เด็กๆสมัยนี้มักจะเติบโตขึ้นมาโดยไม่ค่อยรู้จักรับผิดชอบทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครอบครัวหรือสังคมไม่ได้มอบหมายงานอะไร พ่อแม่บางคนไม่ยอมให้ลำบาก เด็กๆจึงไม่ต้องทำอะไร จึงไม่มีโอกาสได้ฝึกฝนตนเอง แต่แท้ที่จริงแล้วเด็กๆต้องการที่จะกระทำในเรื่องที่พวกเขาคิดว่าพวกเขาสามารถทำได้ และพวกเขาปรารถนาที่ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย พวกเขาอยากเป็นคนเก่ง คนกล้า ดังนั้นในการฝึกอบรมเด็กๆของเราจึงต้องมีการมอบหมายงานให้แต่ละคนกระทำหรือทำเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มและให้มีการติดตามเพื่อจะได้เห็นการพัฒนาของพวกเขา

         9. ให้มีความรู้สึกนึกคิดถึงศาสนาในมุมมองใหม่ (New Religious sense): เด็กๆมีความต้องการที่จะเข้าใจเรื่องของพระเจ้าในมุมมองใหม่ที่ต่างไปจากการได้รับการอบรมเมื่อวัยเด็ก พระเจ้าสำหรับพวกเขาควรที่จะเป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความเมตตา เป็นมิตร ให้อภัย ไม่ใช่พระเจ้าแห่งเวทมนต์คาถา หรือพระเจ้าที่ดลบันดาลอะไรให้แก่มนุษย์แบบไร้เหตุผล แต่เป็นพระเจ้าที่ทรงห่วงใยคนยากไร้ คนพิการ คนที่ถูกทอดทิ้ง คนที่ต้องการความบรรเทาใจ ฯลฯ

          (โดยคุณพ่อ ผ.ศ.วัชศิลป์ กฤษเจริญ ผู้อำนวยการสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมของสันตสำนัก PMS โอกาสวันยุวธรรมทูตสากล วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม 2011)

ผู้อํานวยการ PMS ประเทศไทย

คุณพ่อเปาโล ไตรรงค์  มุลตรี ผู้อํานวยการ สมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรม (PMS)ประเทศไทย
คุณพ่อเปาโล ไตรรงค์  มุลตรี
ผู้อํานวยการ
สมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรม
(PMS)ประเทศไทย


LINKS

www.ppoomm.v

http://www.catholicmission.org.au/http://www.missionsocieties.ca/www.pms-phil.orgwww.missio.org.mthttp://www.obrasmisionalespontificias.es/คณะธรรมทูตไทย

สถิติการเยี่ยมชม

14531634
Today
Yesterday
This Week
This Month
All days
29
867
1997
8229
14531634
Your IP: 3.144.253.161
2024-04-26 00:35