“ใจที่เร่าร้อนเป็นไฟ เท้าต้องก้าวเดินไป" (เทียบ ลก 24:13-35) ....สารวันแพร่ธรรม ปี 2023....

วิธีสร้างผู้เรียนให้มีจิตอาสาวิธีสร้างผู้เรียนให้มีจิตอาสา
           วันที่ 25 กรกฎาคม 2553 ซิสเตอร์ ดร. มาลีรัตน์ บุญอนันตบุตร ผอ.โรงเรียนดาราสมุทร ฉะเชิงเทรา ได้จัดการฝึกอบรมคณะครูของโรงเรียนเพื่อให้รู้จักวิธีสร้างนักเรียนให้เป็นผู้ที่มีจิตอาสาตามหลักธรรมของศาสนาคริสต์คาทอลิก โดยที่ทางผู้บริหารให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้ปั้นแต่งศิษย์ให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง
การฝึกอบรมใช้เวลา 1 วัน หัวข้อสำคัญที่วิทยากรได้นำเสนอให้กับคณะครูมีดังต่อไปนี้
หัวข้อแรก การตระหนักรับรู้ถึงปัญหา :  วิทยากรได้เริ่มต้นด้วยการปลุกจิตสำนึกคุณครูให้ตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงของนักเรียนและให้คณะครูช่วยกันระดมความคิดหาทางแก้ไขในแต่ละกรณี จากรายการของการทำงานกลุ่มปรากฏว่าปัญหาของนักเรียนที่สำคัญๆ มีอาทิเช่น การอ่านหนังสือไม่ออก การมาโรงเรียนสาย เด็กก้าวร้าว เด็กยากจน พ่อแม่แตกแยก เด็กติดเกมส์ ไม่ตั้งใจเรียน ฯลฯ ปัญหาต่างๆเหล่านี้คณะครูคิดว่ามีหนทางแก้ไขได้ทั้งจากคุณครูเองและจากผู้ปกครอง ด้วยการติดตาม การเยี่ยมบ้านนักเรียน การพูดคุยกับผู้ปกครอง ฯลฯ สิ่งที่วิทยากรได้ท้าทายคณะครูในการแก้ไขปัญหาต่างๆนี้คือ เราจะให้นักเรียนได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้เพื่อน ในลักษณะ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ได้อย่างไร

หัวข้อที่สอง “คุณครูคือใคร” : วิทยากรได้นำเสนอภาพและเพลงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของครู โดยเฉพาะภาพยนตร์โฆษณา เช่น ครูคือผู้ปั้นดิน ชีวิตครูฝึกสอน เพลงปาเจราของวงโป่งลางสะออน ฯลฯ เพื่อสร้างความรู้สึกแห่งความภูมิใจในการทำหน้าที่ครูที่ต้องมีความพากเพียรอดทน แต่ที่สุดเมื่อศิษย์ได้ดีก็เกิดความสุขความภูมิใจ

หัวข้อที่สาม “เราใช้ชีวิตในสองหมื่นวันอย่างไร” : วิทยากรได้ให้ครูฟังและไตร่ตรองเนื้อเพลง “สองหมื่น” ที่เน้นการใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อจะได้ไม่มาเสียใจเมื่อต้องจากโลกนี้ไป เพราะชีวิตของเราไม่ยืนยาวนัก และเราแต่ละคนต่างโชคดีที่มีอะไรต่อมิอะไรมากมายกว่าคนอื่นๆ ดังนั้นเราจึงไม่ควรเก็บความโชคดีของเราไว้คนเดียว แต่ต้องนำความโชคดีของเราไปมอบให้กับคนอื่นๆด้วย

หัวข้อที่สี่ “การสร้างผู้เรียนให้มีจิตอาสา” : วิทยากรได้สรุปกิจกรรมต่างๆที่คณะครูได้ปฏิบัติทั้งวันเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างผู้เรียนให้มีจิตอาสาดังนี้ คือ หนึ่ง “การปลุกจิตสำนึก” ให้ผู้เรียนได้เกิดความรู้สึกว่าตนเองโชคดีกว่าคนอื่นๆ มีกินมีใช้ ในขณะที่ยังมีเพื่อนๆอีกมากมายที่มีความยากลำบากในชีวิต เช่น ไม่มีอาหารกินอย่างครบหมู่ ไม่มีเงินค่าขนม ไม่มีเสื้อผ้า ไม่มีพ่อแม่ ไม่มีเพื่อน ฯลฯ และเมื่อเห็นแล้วจึงอดไม่ได้ที่จะเกิดความเห็นอกเห็นใจ เกิดความคิดที่จะต้อง “แบ่งปัน” หรือหาทางช่วยเหลือเพื่อนๆที่ลำบากกว่าตน สอง “การให้การอบรม” การอบรมในสองเรื่องสำคัญคือ การอบรมให้เด็กมาธรรมะหรือมีคำสอนของศาสนาประจำใจ กับอบรมถึงวิธีการช่วยเหลือกันและกัน คำสอนของศาสนาเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะเป็นการปลูกฝังคุณธรรมลงในจิตวิญญาณของเด็ก ส่วนวิธีการช่วยเหลือกันและกันนั้นคุณครูต้องสอนเด็กๆเพื่อให้เด็กได้เกิดแนวคิดและสามารถช่วยเหลือได้อย่างถูกวิธี สาม “การให้เด็กทำกิจกรรม” ให้ครูได้มอบหมายนักเรียนของตนเองให้กระทำงานใดงานหนึ่งตามความสามารถของเด็ก หรือให้เด็กๆได้เลือกที่จะกระทำงานหนึ่งงานใด ในห้องเรียน ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ฯลฯ ด้วยจิตอาสา แล้วให้กลับมาพูดคุยกับครูว่าได้ทำตามความตั้งใจหรือไม่อย่างไร ทำแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร ฯลฯ การกระทำเช่นนี้เป็นการสร้างลักษณะนิสัยของการเป็นจิตอาสาให้กับเด็กๆของเรา สุดท้ายเป็นการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในระหว่างนักเรียนของเราเอง นักเรียนของเราจะต้องรักกันและกัน ถ้านักเรียนไม่รักเพื่อนในห้องแล้วการออกไปช่วยเหลือผู้อื่นก็ไร้ความหมาย และนักเรียนของเราจะต้องรักไม่เฉพาะเพื่อนๆในห้องเท่านั้น แต่ต้องรักเพื่อนๆในห้องเรียนอื่นๆด้วย วิทยากรได้ยกตัวอย่างเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีจากพระคัมภีร์มาเป็นบทสอนใจเรื่องของการเป็นเพื่อนแท้ด้วย
การฝึกอบรมในห้องประชุมจบด้วยการให้คุณครูได้ระดมความคิดว่าเราจะจัดกิจกรรมต่างๆให้นักเรียนของเราได้เกิดคุณลักษณะจิตอาสาได้อย่างไร แล้วนำไปให้ผู้บริหารได้วิเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นแผนงานต่อไป

          สุดท้ายคณะครูได้เข้าร่วมขอพรพระเจ้าด้วยการเข้าวัดเพื่อร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณและมีการมอบวุฒิบัตรเป็นที่ระลึก

LINKS

www.ppoomm.v

http://www.catholicmission.org.au/http://www.missionsocieties.ca/www.pms-phil.orgwww.missio.org.mthttp://www.obrasmisionalespontificias.es/คณะธรรมทูตไทย

สถิติการเยี่ยมชม

14531284
Today
Yesterday
This Week
This Month
All days
546
409
1647
7879
14531284
Your IP: 18.117.81.240
2024-04-25 16:30