“ใจที่เร่าร้อนเป็นไฟ เท้าต้องก้าวเดินไป" (เทียบ ลก 24:13-35) ....สารวันแพร่ธรรม ปี 2023....

 คู่มืออบรมฯ บทที่ 1 ความเป็นมาของสมัชชาบทที่ 1 ความเป็นมาของสมัชชา

1.จุดประสงค์
    1)    เพื่อให้สมาชิกสามารถบอกลำดับการประชุมสมัชชาอยุธยาและสมัชชาใหญ่ฯ ของพระศาสนจักรประเทศไทยได้
    2)    เพื่อให้สมาชิกตระหนักถึงความสำคัญและสนใจอยากเรียนรู้ว่า ในกฤษฎีกาฯ มีเนื้อหาที่สำคัญอย่างไร
    3)    เพื่อให้สมาชิกภาวนาเพื่อให้ผลของสมัชชาบังเกิดผลในพระศาสนจักรในประเทศไทย

การสร้างบรรยากาศ จุดประสงค์ และการรายงานการประชุมและการเงิน
    1. สร้างบรรยากาศ ด้วยการร้องเพลงของสมณองค์กรยุวธรรมทูต ชุด เพื่อนช่วยเพื่อน 1 เพลง
    2. ภาวนาเริ่มการประชุม ฝึกให้สมาชิกภาวนาด้วยท่าทีที่ถูกต้องและภาวนาอย่างตั้งใจ เช่น เชิญชวนให้ก้มศีรษะ
    3. เกริ่นนำถึงจุดประสงค์  สิ่งที่เราจะเรียนรู้ในวันนี้
    4. รายงานการประชุมและการเงิน จากการประชุมในครั้งที่ผ่านมา

2. ประสบการณ์
     ผู้นำเกริ่นนำจุดประสงค์ของสมณองค์กรยุวธรรมทูต คือ การฝึกอบรมให้เด็ก ๆ เป็นผู้ประกาศข่าวดีในระหว่างเพื่อนด้วยกัน โดยมีคติพจน์ว่า “เพื่อนช่วยเพื่อน พาเพื่อนมาพบพระเยซู”

ข้อมูลเพิ่มเติม
       สมณองค์กรยุวธรรมทูต (Pontifical Society of the Holy Childhood) (Statute 13) สมณองค์กรยุวธรรมทูตให้ความช่วยเหลือพระศาสนจักรท้องถิ่นตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1)    ปลุกจิตสำนึกและพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ประกาศข่าวดีสากล (เรียนรู้เพื่อเป็นผู้ประกาศข่าวดี)
2)    ส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกันฝ่ายจิต (ระลึกถึงกันด้วยการภาวนาและการร่วมศีลศักดิ์สิทธิ์)
3)    แบ่งปันวัตถุสิ่งของเพื่อเป็นทรัพยากรให้กับเด็ก ๆ ในพระศาสนจักรอื่น ๆ โดยเฉพาะพระศาสนจักรที่อยู่ในความยากลำบาก (ถวายเงินและสิ่งของช่วยเหลือบุคคลที่ลำบากกว่าตนเอง)
4)    เพื่อส่งเสริมและพัฒนากระแสเรียกการเป็นธรรมทูต (ส่งเสริมให้เป็นพระสงฆ์และนักบวชธรรมทูต)
5)    เพื่อสร้างผู้นำในการฝึกอบรมให้เด็ก ๆ (ฝึกการเป็นผู้นำ)

3. คำสอนธรรมทูต  
        ผู้นำ เกริ่นนำหัวข้อพบปะในปีนี้ คือ การเรียนรู้กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ฯ ค.ศ. 2015 เพื่อเด็ก ๆ จะได้นำคำสอนจากกฤษฎีกาไปใช้ในการดำเนินชีวิตส่วนตัวและหมู่คณะ วันนี้พวกเราจะเรียนรู้เรื่องการประชุมสมัชชาอยุธยา ค.ศ. 1664
        1)    ให้ผู้นำเตรียมการแสดงละคร “การจัดประชุมสมัชชาอยุธยา ค.ศ. 1664/2207” โดยใช้ข้อมูลจากคำสอนธรรมทูต
        2)    เนื้อเรื่องย่อมีดังนี้ ธรรมทูตจากโปรตุเกสเดินทางถึงแผ่นดินสยาม และพบว่ามีคนมากมายที่สนใจศาสนาคริสต์ แต่ขาดพระสงฆ์นักบวช ครูคำสอน และยังพบว่าคนไทยยังขาดการศึกษา มีคนเจ็บไข้ได้ป่วยจำนวนมาก  บรรดาธรรมทูตจึงได้ประชุมกันเพื่อหาทางแก้ไขความต้องการของทั้งสามเรื่องนี้
        3)    ผู้นำอาจให้สมาชิกแสดงเป็นละครภาพนิ่ง โดยให้เด็ก ๆ แสดง 5 ฉาก คือ
               a.    ฉากที่หนึ่ง     ธรรมทูตเดินเรือมาถึงสยาม
               b.    ฉากที่สอง     ประชาชนสนใจศาสนาคริสต์แต่ขาดคนสอน
               c.    ฉากที่สาม     ประชาชนไม่รู้หนังสือ
               d.    ฉากที่สี่      ประชาชนเจ็บไข้ได้ป่วยไม่มีคนรักษา
               e.    ฉากที่ห้า    การประชุมเพื่อจัดตั้งคณะนักบวช จัดตั้งวิทยาลัย และจัดตั้งโรงพยาบาล

ความเป็นมาของสมัชชาอยุธยา ค.ศ. 1664
         1)     บรรดาธรรมทูตชาวต่างประเทศได้เดินทางมาประกาศศาสนาคริสต์ในแผ่นดินสยาม หรือประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1516/2059 เป็นต้นมา
         2)    เมื่อทำงานได้ระยะหนึ่ง บรรดาธรรมทูตจึงได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ ที่เรียกว่า “สมัชชาแห่งกรุงศรีอยุธยา” ใน ค.ศ. 1664/2207 ซึ่งยังผลให้พระศาสนจักรไทยได้เกิดขึ้นและเติบโต พัฒนาก้าวหน้ามาจนได้รับการสถาปนาพระฐานานุกรมเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา คือ เมื่อปี ค.ศ. 1965/2508   
         3)    ผลจากสมัชชาอยุธยาที่เกิดขึ้นที่ควรกล่าวถึงได้แก่ (ควรให้สมาชิกจำให้ได้)
              (1)    การก่อตั้งคณะนักบวชรักกางเขน โดย พระสังฆราชเดอ ลาม็อต
              (2)    มีการจัดพิมพ์แนวปฏิบัติสำหรับมิชชันนารี พระสังฆราชปัลลือเป็นผู้นำไปขออนุญาตจัดพิมพ์ที่กรุงโรม และได้รับอนุมัติในปี ค.ศ. 1669 และจัดพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1669  
              (3)    การจัดตั้งบ้านเณรเป็นวิทยาลัยนักบุญยอแซฟ ที่อยุธยา
              (4)    การจัดตั้งโรงพยาบาล
         4)    ในโอกาสที่ระลึกถึงสมัชชาแห่งกรุงศรีอยุธยาครบ 350 ปี พระศาสนจักรในประเทศไทย จึงได้เตรียมการเฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญนั้น  โดยในปี ค.ศ. 2015/2558 ที่ผ่านมา พระศาสนจักรคาทอลิกประเทศไทยได้จัดให้มีการโมทนาคุณพระเจ้าสำหรับพระพรแห่งข่าวดีที่ได้รับความรอดพ้นจากบาป และมองไปข้างหน้าด้วยการจัดประชุมสมัชชาใหญ่ โดยมีพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานการประชุมสมัชชาฯ
         5)    ก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่  ได้จัดการประชุมสมัชชาระดับสังฆมณฑลนครท่าแร่-หนองแสง เมื่อวันที่ 10-15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014/2557 และในสังฆมณฑลนครกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24-29 พฤศจิกายน ค.ศ.2014/2557 และการประชุมสมัชชาใหญ่ ได้จัดขึ้น ณ ศูนย์อภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 20-24 เมษายน ค.ศ. 2015/2558 จากนั้นสภาพระสังฆราชฯได้นำร่างกฤษฎีกาซึ่งเป็นผลของการประชุมสมัชชาใหญ่ไปให้สมณกระทรวงเพื่อการประกาศพระวรสารสู่ปวงชนให้การรับรอง และที่สุดได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017/2560
         6)    สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้มีมติให้ประกาศกฤษฎีกาการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 1 ในการประชุมเมื่อวันที่ 21-23 มีนาคม ค.ศ. 2017/2560 เพื่อการฟื้นฟูพระศาสนจักรคาทอลิกทุกระดับในประเทศไทย และสนับสนุนให้คริสตชนศิษย์พระคริสต์ทุกคนรวมตัวกันเป็นชุมชนคริสตชนย่อยที่มีอารยธรรมแห่งความรักเป็นบรรยากาศ ได้รับการฟื้นฟูจนมีชีวิตที่เป็นข่าวดี กล้าที่จะออกไปประกาศข่าวดีแก่คนรอบข้างและสังคมไทย
            เมื่อแสดงละครจบให้ผู้นำทบทวนความจำโดยตั้งคำถามดังนี้
    1. ธรรมทูตเดินทางมาถึงสยามหรือประเทศไทยเมื่อไร ปีอะไร
    2. ธรรมทูตพบว่าคนไทยในสมัยนั้นมีความต้องการอะไรที่สำคัญ ๆ
    2. ธรรมทูตได้ทำอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของคนไทย

4. พระคัมภีร์และการไตร่ตรอง
        ให้สมาชิกศึกษาพระคัมภีร์ จากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ. 15:1-3) “ความขัดแย้งที่เมืองอันทิโอก”
   “คริสตชนชาวยิวบางคนลงมาจากแคว้นยูเดียและสอนบรรดาพี่น้องว่า “ถ้าท่านทั้งหลายมิได้เข้าสุหนัตตามธรรมประเพณีของโมเสส ท่านจะรอดพ้นไม่ได้” เปาโลและบารนาบัสไม่เห็นด้วย จึงโต้แย้งกับเขาเหล่านั้นอย่างรุนแรง มีการตกลงกันให้เปาโลและบารนาบัสพร้อมกับพี่น้องบางคนขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อปรึกษาปัญหานี้กับบรรดาอัครสาวกและบรรดาผู้อาวุโส”

คำถามเพื่อการไตร่ตรอง (อาจจะยากสักนิด ผู้นำต้องช่วยให้เด็กได้ฝึกไตร่ตรองด้วย)
1)    พระคัมภีร์ตอนนี้สรุปสาระสำคัญได้ว่าอย่างไร (เมื่อมีปัญหา ไม่เข้าใจ หรือมีความขัดแย้งกัน ให้พูดคุย และหาข้อตกลงร่วมกัน)
2)    เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกอย่างไร (ทุกปัญหาย่อมมีวิธีแก้ไข)
3)    เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วได้รับประโยชน์อะไรบ้าง (เราต้องประชุมหรือพูดคุยกัน เมื่อเจอปัญหาในการทำงาน อย่าปล่อยให้เกิดความขัดแย้ง หรือโต้แย้งกันจนนำไปสู่การผิดใจกัน)
4)    ถ้าไม่ได้อ่านเรื่องนี้จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง (จะแก้ปัญหาแบบผิด ๆ เช่น เถียงกัน ไม่คุยกัน ไม่ฟังกัน)
5)    เราแต่ละคนมีอะไรต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นไปตามที่พระคัมภีร์สอนเราหรือไม่ อย่างไร (ให้แต่ละคนพิจารณาตนเอง ว่าถ้ามีปัญหากันควรทำอย่างไร)
6)    การเรียนรู้ เรื่องความเป็นมาของสมัชชาอยุธยา และการอ่านพระคัมภีร์ (กจ. 15:1-3) นี้ ทำให้เรารู้จักพระเจ้าของเรามากขึ้นอย่างไร (พระเจ้ามีวิธีการสอนที่ชาญฉลาด รอบคอบ ตัวอย่างของบรรดาสาวกเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น พวกเขาจัดประชุมกัน และที่อยุธยาบรรดาธรรมทูตเมื่อพบปัญหาพวกเขาก็ได้จัดการประชุมที่เรียกว่าสมัชชาขึ้น)

    
5. ชีวิตจิตธรรมทูต
ผู้นำ  นำการภาวนาสายประคำธรรมทูต โดยการสวดบทวันทามารีย์ 10 บท
1. เพื่อขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับงานประกาศข่าวดีในประเทศไทย
2. ขอพรให้ดวงวิญญาณของธรรมทูตที่มาเผยแผ่ศาสนาในประเทศไทย

6. ธรรมทูตที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (ชีวิตกลุ่ม)
1.  ให้สมาชิกได้พักสักครู่
2. รับประทานอาหารว่างร่วมกัน (โดยผู้นำอาจเตรียมขนม นมกล่อง ไว้เพื่อแจกสมาชิก)

7. ธรรมทูตรับใช้ (ปฏิบัติ)
1)    (ครั้งแรก) ให้เลือกตั้ง หัวหน้ากลุ่ม นักบุญองค์อุปถัมภ์ประจำกลุ่ม เลขา เหรัญญิก (ผู้นำแนะนำหน้าที่ให้เด็ก ๆ)
2)    (ครั้งแรก) ยังไม่มีรายงานการทำงาน เพราะเป็นการพบปะกันครั้งแรก
3)    ให้สมาชิกประชุมกันว่าจะประกาศข่าวดีด้วยการกระทำ 1 อย่าง ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเขา (ให้เลขาจดบันทึกไว้เพื่อการรายงานในการพบปะครั้งต่อไป)
4)    ให้สมาชิกถวายเงินเล็กน้อยเพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กที่มีความยากลำบากกว่าตนเอง (เตรียมกระปุกออมสินของกลุ่มไว้เพื่อใส่เงิน)
5)    นัดหมายการพบปะครั้งต่อไป

8. ภาวนาปิด
บทภาวนาวอนขอพระพรเพื่อเข้าใจ รัก และดำเนินชีวิต ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ฯ ค.ศ. 2015
“ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่”

::::: Download บทภาวนา :::::

LINKS

www.ppoomm.v

http://www.catholicmission.org.au/http://www.missionsocieties.ca/www.pms-phil.orgwww.missio.org.mthttp://www.obrasmisionalespontificias.es/คณะธรรมทูตไทย

สถิติการเยี่ยมชม

14522150
Today
Yesterday
This Week
This Month
All days
45
426
1184
7172
14522150
Your IP: 54.173.214.79
2024-03-29 01:08