“ใจที่เร่าร้อนเป็นไฟ เท้าต้องก้าวเดินไป" (เทียบ ลก 24:13-35) ....สารวันแพร่ธรรม ปี 2023....

 คู่มืออบรมฯ บทที่  8 พระศาสนจักรเพื่อคนยากจนบทที่ 8 พระศาสนจักรเพื่อคนยากจน

1.จุดประสงค์
      1. เพื่อให้สมาชิกได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่าพระศาสนจักรที่ยากจนเพื่อคนยากจน
      2. เพื่อให้สมาชิกมีความเห็นอกเห็นใจคนที่ยากลำบากกว่าตนเอง
      3. เพื่อให้สมาชิกเลือกทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเพื่อนที่ลำบากกว่าตนเองได้ อย่างน้อย  1 ประการ

การสร้างบรรยากาศ จุดประสงค์ และการรายงานการประชุมและการเงิน
    1. สร้างบรรยากาศ ด้วยการร้องเพลงของสมณองค์กรยุวธรรมทูต ชุด เพื่อนช่วยเพื่อน 1 เพลง
    2. ภาวนาเริ่มการประชุม ฝึกให้สมาชิกภาวนาด้วยท่าทีที่ถูกต้องและภาวนาอย่างตั้งใจ เช่น เชิญชวนให้ก้มศีรษะ
    3. เกริ่นนำถึงจุดประสงค์ คือสิ่งที่เราจะเรียนรู้ในวันนี้  ดังนั้นในการประชุมแต่ละครั้ง ผู้นำควรชี้ให้สมาชิกเห็นประเด็นที่สำคัญ ให้เด็ก ๆ สามารถจดจำ และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
    4. รายงานการประชุมและการเงิน จากการประชุมในครั้งที่ผ่านมา

2. ประสบการณ์        
1. ให้สมาชิกแสดงบทบาทสมมุติ โดยผู้นำ สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เป็นตลาดในห้องเรียน
2.  ให้สมาชิกคนหนึ่งแสดงเป็นคนยากจน นั่งขอทานอยู่ริมถนน แล้วขออาสาสมัคร 3 คน โดยให้แสดงทีละคน มีโจทย์ว่าเมื่อเดินมาถึงคนที่นั่งขอทานอยู่เธอจะทำอย่างไร ให้แสดงออกมา
3. เมื่อแสดงจบแล้ว ให้ผู้นำวิเคราะห์พฤติกรรมของอาสาสมัครทั้งสามคน และสมาชิกที่เป็นคนขอทาน

ขอทาน     1. รู้สึกอย่างไรที่เราต้องเป็นขอทาน (เห็นคนอื่น ๆ มีกินมีใช้)
               2. เมื่อมีคนมาช่วยรู้สึกอย่างไร  
               3. ถ้ามีคนดูถูกจะรู้สึกอย่างไร

อาสาสมัคร  1) ทำไมถึงช่วย    
                  2) ทำไมถึงไม่ช่วย  
                  3) ช่วยแล้วรู้สึกอย่างไร


3. คำสอนธรรมทูต  
  
กฤษฎีกาสมัชชาของใหญ่พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ข้อที่ 26 ได้เน้นถึงบทบาทของพระศาสนจักรจะต้องเป็นและให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ ให้พระศาสนจักรเป็นพระศาสนจักรที่ยากจน และมีอยู่เพื่อคนยากจน

    พระศาสนจักรต้องเลือกอยู่ข้างคนยากจนเป็นอันดับแรกเรื่องนี้จะต้องเป็นชีวิตมากกว่าเป็นเพียงความคิดหรืองานบริการสังคมการเลือกเช่นนี้ เป็นวิถีชีวิตของพระศาสนจักรที่ต้องไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น เรื่องนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงเลือกที่จะฟื้นฟูพระศาสนจักรอย่างจริงจัง ให้อยู่ข้างคนยากจน โดยให้พระศาสนาจักรดำเนินชีวิตยากจนเพื่อคนยากจน พระคริสตเจ้าทรงเป็นต้นแบบที่ล้ำค่าที่สุดในเรื่องการถ่อมพระองค์ลงมา ทรงบังเกิดอย่างยากจน ทรงทิ้งความร่ำรวยสูงสุด ลงมารับสภาพดุจทาสเป็นมนุษย์เหมือนเรา และทรงรักมนุษย์จนกระทั่งยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อกอบกู้พวกเขาให้รอดพ้น (เทียบ ฟป. 2:7-8)

    พระศาสนจักรต้องไม่สะสมความร่ำรวย และสถาบันของพระศาสนจักรต้องเป็นประจักษ์พยาน ต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้มีพื้นที่ที่เปิดกว้างต้อนรับคนยากจน พระสังฆราช  พระสงฆ์  นักบวช  และคริสตชนทุกคน ต้องเลือกที่จะดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย สมถะ พอเพียง มีเมตตากรุณา รักและรับใช้อยู่เคียงข้างคนจน เน้นความยุติธรรมในสังคม กล้าละทิ้งความสะดวกสบายและความมั่นคงส่วนตน เพื่อเป็นประจักษ์พยานที่มีประสิทธิภาพและประกาศข่าวดีได้อย่างแท้จริง

4. พระคัมภีร์และการไตร่ตรอง
ให้สมาชิกศึกษาพระคัมภีร์พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา (ลก. 10:29-32) เรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี

    “ชายคนนั้นต้องการแสดงว่าตนถูกต้องจึงทูลถามพระเยซูเจ้าว่า “แล้วใครเล่าเป็นเพื่อนมนุษย์ของข้าพเจ้า” พระเยซูเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า “ชายคนหนึ่งกำลังเดินทางจากกรุงเยรูซาเล็มไปยังเมืองเยรีโค เขาถูกโจรปล้น พวกโจรปล้นทุกสิ่ง ทุบตีเขาแล้วก็จากไป ทิ้งเขาไว้อาการสาหัสเกือบสิ้นชีวิต สมณะผู้หนึ่งเดินผ่านมาทางนั้นโดยบังเอิญ เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่ง ชาวเลวีคนหนึ่งผ่านมาทางนั้น เห็นเขาและเดินผ่านเลยไปอีกฟากหนึ่งเช่นเดียวกัน แต่ชาวสะมาเรียผู้หนึ่งเดินทางผ่านมาใกล้ ๆ เห็นเขาก็รู้สึกสงสาร จึงเดินเข้าไปหา เทน้ำมันและเหล้าองุ่นลงบนบาดแผลแล้วพันผ้าให้ นำเขาขึ้นหลังสัตว์ ของตนพาไปถึงโรงแรมแห่งหนึ่งและช่วยดูแลเขา วันรุ่งขึ้นชาวสะมาเรียผู้นั้นนำเงินสองเหรียญออกมามอบให้เจ้าของโรงแรมไว้กล่าวว่า “ช่วยดูแลเขาด้วย เงินที่ท่านจะจ่ายเกินไปนั้นฉันจะคืนให้เมื่อกลับมา” ท่านคิดว่าในสามคนนี้ใครเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนที่ถูกโจรปล้น” เขาทูลตอบว่า “คนที่แสดงความเมตตาต่อเขา” พระเยซูเจ้าจึงตรัสกับเขาว่า “ท่านจงไปและทำเช่นเดียวกันเถิด”

คำถามเพื่อการไตร่ตรอง (อาจจะยากสักนิด ผู้นำต้องช่วยให้เด็กได้ฝึกไตร่ตรองด้วย)
    1) พระคัมภีร์ตอนนี้สรุปสาระสำคัญได้ว่าอย่างไร (คนที่มีเมตตาคือคนที่ลงมือช่วยเหลือคนที่มีความต้องการ คนที่เดือดร้อน คนที่ยากจน)
    2) เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกอย่างไร (ประทับใจและรู้สึกว่าตนเองยังไม่ได้ช่วยเหลือคนอื่นเหมือนชาวสะมาเรีย)
    3) เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วได้รับประโยชน์อะไรบ้าง (ได้ตัวอย่างที่ดีเพื่อการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน)
    4) ถ้าไม่ได้อ่านเรื่องนี้จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง (ยังจะอยู่เฉย ๆ ไม่ช่วยเหลือใครเหมือนเดิม)
    5) เราแต่ละคนมีอะไรต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นไปตามที่พระคัมภีร์สอนเราหรือไม่ อย่างไร (จะให้ความช่วยเหลือคนที่ลำบาก เมื่อเจอคนยากจนหรือขอทานจะทำบุญ)
    6)  การเรียนรู้เรื่อง พระศาสนจักรที่ยากจนเพื่อคนยากจน   และการอ่านพระคัมภีร์   (ลก.  10:29-32) ทำให้เรารู้จักพระเจ้าของเรามากขึ้นอย่างไร (พระเจ้าประทับอยู่กับคนยากจน คนที่ลำบาก พระเจ้าอยากให้เราช่วยกันและกัน ใครมีมากกว่าต้องช่วยเหลือคนที่มีน้อยกว่า)

5. ชีวิตจิตธรรมทูต
ผู้นำ  นำการภาวนาสายประคำธรรมทูต โดยการสวดบทวันทามารีย์ 10 บท
1. เพื่อให้คนที่ยากจนจะได้มีผู้ที่ใจดีช่วยเหลือพวกเขา และให้เราแต่ละคนได้ช่วยเหลือคนยากจนหรือเพื่อนที่มีความลำบากมากกว่าตนเอง
2. ภาวนาตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเพื่องานแพร่ธรรม

6. ธรรมทูตที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (ชีวิตกลุ่ม)
1.  ให้สมาชิกได้พักสักครู่
2.  รับประทานอาหารว่างร่วมกัน (โดยผู้นำอาจเตรียมขนม นมกล่อง ไว้เพื่อแจกสมาชิก)

7. ธรรมทูตรับใช้ (ปฏิบัติ)
     1) รายงานกิจการดีที่สมาชิกแต่ละคนได้ตั้งใจกระทำ จากการพบปะในครั้งที่ผ่านมา
     2) ให้สมาชิกประชุมกันว่าจะประกาศข่าวดีด้วยการกระทำ 1 อย่าง ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเขา (ให้เลขาจดบันทึกไว้เพื่อการรายงานในการพบปะครั้งต่อไป)
     3) ให้สมาชิกถวายเงินเล็กน้อยเพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กที่มีความยากลำบากกว่าตนเอง (เตรียมกระปุกออมสินของกลุ่มไว้เพื่อใส่เงิน)
     4) นัดหมายการพบปะครั้งต่อไป

8. ภาวนาปิด
บทภาวนาวอนขอพระพรเพื่อเข้าใจ รัก และดำเนินชีวิต ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ฯ ค.ศ. 2015
“ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่”

::::: Download บทภาวนา :::::

LINKS

www.ppoomm.v

http://www.catholicmission.org.au/http://www.missionsocieties.ca/www.pms-phil.orgwww.missio.org.mthttp://www.obrasmisionalespontificias.es/คณะธรรมทูตไทย

สถิติการเยี่ยมชม

14522261
Today
Yesterday
This Week
This Month
All days
156
426
1295
7283
14522261
Your IP: 3.89.56.228
2024-03-29 04:13