“ใจที่เร่าร้อนเป็นไฟ เท้าต้องก้าวเดินไป" (เทียบ ลก 24:13-35) ....สารวันแพร่ธรรม ปี 2023....

บทที่ 9 เคารพศักดิ์ศรีมนุษย์บทที่ 9 เคารพศักดิ์ศรีมนุษย์

1.จุดประสงค์
     1. เพื่อให้สมาชิกสามารถบอกถึงพฤติกรรมที่แสดงว่าตนเองเคารพศักดิ์ศรีของบุคคลอื่น
     2. เพื่อให้สมาชิกตระหนักถึงผลเสียของการไม่เคารพศักดิ์ศรีของบุคคลอื่น
     3. เพื่อให้สมาชิกปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อบุคคลอื่น

การสร้างบรรยากาศ จุดประสงค์ และการรายงานการประชุมและการเงิน
    1. สร้างบรรยากาศ ด้วยการร้องเพลงของสมณองค์กรยุวธรรมทูต ชุด เพื่อนช่วยเพื่อน 1 เพลง
    2. ภาวนาเริ่มการประชุม ฝึกให้สมาชิกภาวนาด้วยท่าทีที่ถูกต้องและภาวนาอย่างตั้งใจ เช่น เชิญชวนให้ก้มศีรษะ
    3. เกริ่นนำถึงจุดประสงค์ คือสิ่งที่เราจะเรียนรู้ในวันนี้  ดังนั้นในการประชุมแต่ละครั้ง ผู้นำควรชี้ให้สมาชิกเห็นประเด็นที่สำคัญ ให้เด็ก ๆ สามารถจดจำ และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
    4. รายงานการประชุมและการเงิน จากการประชุมในครั้งที่ผ่านมา

2. ประสบการณ์        
    1. แบ่งสมาชิกออกเป็นกลุ่ม เท่า ๆ กัน
     2. แจกหนังสือพิมพ์ให้แต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 1 เล่ม
     3. ให้สมาชิกช่วยกันหาภาพ หรือข่าวที่ส่งเสริมความรัก แสดงความเคารพ การช่วยเหลือกัน กลุ่มละ 1 ภาพ/ข่าว จากนั้นให้นำเสนอว่าเป็นเรื่องอะไร
เมื่อทุกกลุ่มรายงานเสร็จแล้วให้ผู้นำสรุปสาระสำคัญของกฤษฎีกา ตามที่ให้ไว้นี้


3. คำสอนธรรมทูต  
  
กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ข้อที่ 27 ส่งเสริมให้เราทุกคน รวมทั้งเด็กและเยาวชน ให้ความสำคัญกับ “การเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์”  
    เหตุผลเพราะว่าทุกคนเป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า “พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเขาตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า พระองค์ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง” (ปฐก. 1:27) มนุษย์ทุกคนจึงมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในฐานะลูกของพระเจ้า ดังนั้น ทุกคนจึงต้องรักและเคารพกันและกัน
    ตั้งแต่การปฏิสนธิและสิ้นสุดเมื่อความตายตามธรรมชาติมาถึง  พระศาสนจักรมีพันธกิจที่จะต้องปกป้องชีวิต ส่งเสริมชีวิต มุ่งพัฒนาชีวิต และศักดิ์ศรีของมนุษย์แบบองค์รวม โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียวอย่างแท้จริง พระศาสนจักรทุกภาคส่วนต้องมองเห็นความสำคัญและร่วมมือกันปกป้องสิทธิมนุษยชน ยอมรับ ยกย่องให้เกียรติ และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคน โดยส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาคุณภาพชีวิต ศักดิ์ศรีและสิทธิของครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี บุรุษ ผู้สูงอายุ และสมาชิกกลุ่มพิเศษในสังคม ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ ๆ ของความยากจนและความอ่อนแอ เช่น บรรดาผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย กลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อHIV ผู้พิการ ผู้ต้องขัง บรรดาผู้สูงอายุที่อยู่โดดเดี่ยวและถูกทอดทิ้ง เด็กและสตรีที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากสถานการณ์ที่ถูกทอดทิ้ง ถูกทารุณ ถูกทำร้ายด้วยความรุนแรง ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกละเมิดทางเพศ และถูกล่วงละเมิดในรูปแบบอื่น ๆ ตลอดจนบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ และคนไร้สัญชาติ

4. พระคัมภีร์และการไตร่ตรอง
ให้สมาชิกศึกษาพระคัมภีร์พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ. 8:1-4) เรื่องพระเยซูเจ้าทรงรักษาคนโรคเรื้อน

    “เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จลงมาจากภูเขา ประชาชนจำนวนมากติดตามพระองค์ ทันใดนั้น คนโรคเรื้อนคนหนึ่งมาเฝ้าพระองค์ กราบลงทูลว่า “พระเจ้าข้า ถ้าพระองค์พอพระทัย ก็ทรงรักษาข้าพเจ้าให้หายได้” พระองค์ทรงยื่นพระหัตถ์สัมผัสเขา ตรัสว่า “เราพอใจ จงหายเถิด” โรคเรื้อนก็หายไปทันที  พระเยซูเจ้าตรัสกับเขาอีกว่า “ระวัง อย่าบอกให้ใครรู้เลย จงไปแสดงตนแก่สมณะ และถวายเครื่องบูชาตามที่โมเสสกำหนด เพื่อเป็นพยานหลักฐานแก่คนทั้งหลาย”

คำถามเพื่อการไตร่ตรอง (อาจจะยากสักนิด ผู้นำต้องช่วยให้เด็กได้ฝึกไตร่ตรองด้วย)
   1) พระคัมภีร์ตอนนี้สรุปสาระสำคัญได้ว่าอย่างไร (พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนโรคเรื้อน พระองค์ไม่รังเกียจผู้ใดเลย ทรงเคารพให้เกียรติคนทุกคน)
   2) เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกอย่างไร (ประทับใจและรู้สึกว่าตนเองยังรังเกียจเพื่อนบางคน)
   3)  เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วได้รับประโยชน์อะไรบ้าง (จำเป็นที่เราต้องร่วมมือกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ)
   4) ถ้าไม่ได้อ่านเรื่องนี้จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง (ยังจะอยู่เฉย ๆ ไม่สำนึกหรือไม่เห็นอกเห็นใจใคร)
   5) เราแต่ละคนมีอะไรต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นไปตามที่พระคัมภีร์สอนเราหรือไม่ อย่างไร (ต้องให้ความร่วมมือกับผู้อื่นมากขึ้น....)
   6) การเรียนรู้เรื่อง เคารพศักดิ์ศรีมนุษย์ และการอ่านพระคัมภีร์ (มธ. 8.1-4) ทำให้เรารู้จักพระเจ้าของเรามากขึ้นอย่างไร (พระเจ้าพระทัยดี ให้ความสำคัญแก่ทุกคน ทุกคนเป็นเครื่องมือของพระเจ้าในการสร้างพระอาณาจักรของพระองค์ ด้วยการดำเนินชีวิตเป็นศิษย์ที่ดีของพระคริสต์ และร่วมมือกันประกาศข่าวดีด้วยใจร้อนรน)

5. ชีวิตจิตธรรมทูต
ผู้นำ  นำการภาวนาสายประคำธรรมทูต โดยการสวดบทวันทามารีย์ 10 บท
1. เพื่อคนอพยพย้ายถิ่น คนที่ถูกทอดทิ้ง คนที่ไม่ได้รับสัญชาติ
2. ภาวนาตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปาเพื่องานแพร่ธรรม

6. ธรรมทูตที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (ชีวิตกลุ่ม)
1.  ให้สมาชิกได้พักสักครู่
2.  รับประทานอาหารว่างร่วมกัน (โดยผู้นำอาจเตรียมขนม นมกล่อง ไว้เพื่อแจกสมาชิก)

7. ธรรมทูตรับใช้ (ปฏิบัติ)
     1) รายงานกิจการดีที่สมาชิกแต่ละคนได้ตั้งใจกระทำ จากการพบปะในครั้งที่ผ่านมา
     2) ให้สมาชิกประชุมกันว่าจะประกาศข่าวดีด้วยการกระทำ 1 อย่าง ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเขา (ให้เลขาจดบันทึกไว้เพื่อการรายงานในการพบปะครั้งต่อไป)
     3) ให้สมาชิกถวายเงินเล็กน้อยเพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กที่มีความยากลำบากกว่าตนเอง (เตรียมกระปุกออมสินของกลุ่มไว้เพื่อใส่เงิน)
     4) นัดหมายการพบปะครั้งต่อไป

8. ภาวนาปิด
บทภาวนาวอนขอพระพรเพื่อเข้าใจ รัก และดำเนินชีวิต ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ฯ ค.ศ. 2015
“ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่”

::::: Download บทภาวนา :::::

ผู้อํานวยการ PMS ประเทศไทย

คุณพ่อเปาโล ไตรรงค์  มุลตรี ผู้อํานวยการ สมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรม (PMS)ประเทศไทย
คุณพ่อเปาโล ไตรรงค์  มุลตรี
ผู้อํานวยการ
สมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรม
(PMS)ประเทศไทย


LINKS

www.ppoomm.v

http://www.catholicmission.org.au/http://www.missionsocieties.ca/www.pms-phil.orgwww.missio.org.mthttp://www.obrasmisionalespontificias.es/คณะธรรมทูตไทย

สถิติการเยี่ยมชม

14521900
Today
Yesterday
This Week
This Month
All days
221
180
934
6922
14521900
Your IP: 18.234.165.107
2024-03-28 16:51